สัทอักษร
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในเรื่องสัทอักษร
2. เพื่อให้นักเรียนเขียนคำสัธอักษรได้
ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
สัทวิทยา
พยัญชนะ
* ฑ สามารถออกเสียงได้ทั้ง [tʰ] และ [d] ขึ้นอยู่กับคำศัพท์** เสียง [ʔ] มีปรากฏอยู่ในคำที่มีสระเสียงสั้นและไม่มีพยัญชนะสะกด
เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้
เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้
[p] [ป] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก สิถิล อโฆษะ
[pʰ] [พ] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก ธนิต อโฆษะ
[b] [บ] เสียงกัก ฐานริมฝีปาก สิถิล โฆษะ
[t] [ต] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก สิถิล อโฆษะ
[tʰ] [ท] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก ธนิต อโฆษะ
[d] [ด] เสียงกัก ฐานปุ่มเหงือก สิถิล โฆษะ
[ʨ] [จ] เสียงกัก ฐานเพดานแข็ง สิถิล อโฆษะ
[ʨʰ] [ช] เสียงกัก ฐานเพดานแข็ง ธนิต อโฆษะ
[k] [ก] เสียงกัก ฐานเพดานอ่อน สิถิล อโฆษะ
[kʰ] [ค] เสียงกัก ฐานเพดานอ่อน ธนิต อโฆษะ
[ʔ] [อ] เสียงกัก ฐานเส้นเสียง
[m] [ม] เสียงนาสิก ฐานริมฝีปาก
[n] [น] เสียงนาสิก ฐานปุ่มเหงือก
[ŋ] [ง] เสียงนาสิก ฐานเพดานอ่อน
[r] [ร] เสียงรัวลิ้น ฐานปุ่มเหงือก
[f] [ฟ] เสียงเสียดแทรก ฐานริมฝีปากกับฟัน
[s] [ซ] เสียงเสียดแทรก ฐานปุ่มเหงือก
[h] [ฮ] เสียงเสียดแทรก ฐานเส้นเสียง
[j] [ย] เสียงเปิด ฐานเพดานอ่อน
[w] [ว] เสียงเปิด ฐานริมฝีปาก-เพดานอ่อน
[l] [ล] เสียงข้างลิ้น ฐานปุ่มเหงือก
สระ
สระเดี่ยว
จากตารางสามารถอธิบายถึงเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยตามตำราคือ
• [i] (อิ) ลิ้นส่วนหน้ายกสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
• [iː] (อี) ลิ้นส่วนหน้ายกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [ɯ] (อึ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
• [ɯː] (อือ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [u] (อุ) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงสั้น
• [uː] (อู) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงยาว
• [e] (เอะ) ลิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
• [eː] (เอ) สิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [o] (โอะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงสั้น
• [oː] (โอ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงยาว
• [ɤ] (เออะ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงสั้น
• [ɤː] (เออ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงยาว
• [ɔ] (เอาะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงสั้น
• [ɔː] (ออ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงยาว
• [ɛ] (แอะ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
• [ɛː] (แอ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
• [a] (อะ) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
• [aː] (อา) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
สระประสม
สระประสม เกิดจากการเลื่อนของลิ้นในระดับสูง ลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สระเลื่อน มี 3 เสียงดังนี้
• [ia:] (เอีย) ประสมจากสระ อี และ อา
• [ɯa:] (เอือ) ประสมจากสระ อือ และ อา
• [ua:] (อัว) ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
• ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
• ไม้เอก ( -่ )
• ไม้โท ( -้ )
• ไม้ตรี ( -๊ )
• ไม้จัตวา ( -๋ )
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า(ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
แหล่งที่มา
• [iː] (อี) ลิ้นส่วนหน้ายกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [ɯ] (อึ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
• [ɯː] (อือ) ลิ้นส่วนกลางยกสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [u] (อุ) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงสั้น
• [uː] (อู) ลิ้นส่วนหลังยกสูง ปากห่อ เสียงยาว
• [e] (เอะ) ลิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงสั้น
• [eː] (เอ) สิ้นส่วนหน้ากึ่งสูง ปากเหยียด เสียงยาว
• [o] (โอะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงสั้น
• [oː] (โอ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งสูง ปากห่อ เสียงยาว
• [ɤ] (เออะ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงสั้น
• [ɤː] (เออ) ลิ้นส่วนกลางระดับกลาง ปากกึ่งเหยียด เสียงยาว
• [ɔ] (เอาะ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงสั้น
• [ɔː] (ออ) ลิ้นส่วนหลังกึ่งต่ำ ปากห่อ เสียงยาว
• [ɛ] (แอะ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
• [ɛː] (แอ) ลิ้นส่วนหน้าเกือบต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
• [a] (อะ) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงสั้น
• [aː] (อา) ลิ้นส่วนหน้าลดต่ำ ปากเหยียด เสียงยาว
สระประสม
สระประสม เกิดจากการเลื่อนของลิ้นในระดับสูง ลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สระเลื่อน มี 3 เสียงดังนี้
• [ia:] (เอีย) ประสมจากสระ อี และ อา
• [ɯa:] (เอือ) ประสมจากสระ อือ และ อา
• [ua:] (อัว) ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
• ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
• ไม้เอก ( -่ )
• ไม้โท ( -้ )
• ไม้ตรี ( -๊ )
• ไม้จัตวา ( -๋ )
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า(ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น